วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วาทยากรกับบทบาทการเป็นผู้นำ





บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
"ยิ้มสู้" เป็นบทเพลงที่ฟังแล้วสร้างกำลังใจได้เสมอ

...โลกจะสุขสบายนั้นเป็นได้หลายทาง
ต้องหลบสิ่งกีดขวางหนทางให้พ้นไป
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
สุขและทุกข์อย่างไรเพราะใจตนเอง
ฝ่าลู่ทางชีวิตต้องคิดเฝ้าย้อมใจ
โลกมืดมนเพียงใดหัวใจอย่าคร้ามเกรง
ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง
ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้
คนเป็นคนจะจนหรือมี
ร้ายหรือดีคงมีหวังอยู่
ยามปวงมารมาพาลลบหลู่
ยิ้มละมัยใจสู้หมู่มวลเภทภัย
ใฝ่กระทำความดีให้มีจิตโสภา
สร้างแต่ความเมตตาหาความสุขสันต์ไป
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
เฝ้าแต่ยิ้มสู้ไปแล้วใจชื่นบาน...

นอกจากความหมายดีๆของบทเพลงแล้ว
ภาพวงดนตรีออร์เครสตร้าในวิดีโอนี้ยังได้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรดีๆ จากภาพด้วย


วาทยกร (conductor) คือคนที่ตีความหมายของบทเพลง 
โดยเห็นภาพรวมทั้งหมดของวงดนตรี มีหน้าที่ดึงความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาเพื่อสอดผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน (ที่มา: wikipedia.com)

นอกจากนี้ ถ้าสังเกตในการแสดงจะเห็นได้ว่า
วาทยายังสามารถควบคุมจังหวะจะโคนของการแสดงให้ 
เร็ว-ช้า หรือ ดัง-ค่อย ได้อย่างง่ายดาย เพราะนักดนตรีเองมีความเชื่อมั่นและ
พร้อมที่จะทำตามผู้นำตามการซักซ้อมและการเตรียมตัวก่อนการแสดงจริง
จึงทำให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่น


ซึ่งจากแนวคิดทางโลกตะวันตกที่ว่า
"The manager is like a symphony orchestra conductor,
endeavoring to maintain a melodious performance in which 
the contributions of the various instruments are coordinated 
and sequenced, patterned and paced"
(ที่มา: by Leonard Sayles in www.leadershipnow.com)


ฉันใดก็ฉันนั้น "ผู้นำ" จะเป็นผู้ที่เห็นภาพรวมของการดำเนินงาน 
จึงเป็นผู้ทำหน้าที่กำกับทิศทางและจังหวะของการดำเนินงาน
ให้เป็นไปในแนวทางที่กำหนดไว้ร่วมกัน 
บางครั้งอาจจะผ่อนคลาย บางครั้งอาจจะต้องเร่งรัด 
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
พร้อมทั้งดูแลการทำงานให้สอดประสานในทุกส่วน
โดยที่ผู้ตามเองก็จะต้องรู้หน้าที่
และทำหน้าที่ให้สมกับบทบาทที่ได้รับอย่างถูกต้องและดีที่สุด
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพและความประทับใจของผู้ปฏิบัติหน้าที่
และผู้ที่ได้นำผลลัพธ์นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น